วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552

บทกิจวัตร แสดงอาบัติ ลาสิกขา

บทกิจวัตร แสดงอาบัติ ลาสิกขา


๏ บทกิจวัตรเมื่อเป็นพระ

๑. ลงอุโบสถ (ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น)

๒. บิณฑบาตรเลี้ยงชีพ

๓. สวดมนต์ไหว้พระ

๔. กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์

๕. รักษาผ้าครอง

๖. อยู่ปริวาสกรรม

๗. โกนผม ปลงหนวด ตัดเล็บ

๘. ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์

๙. เทศนาบัติ

๑๐. พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ เป็นต้น

(ให้รู้จักข่มใจ เว้นแต่ความจำเป็น ๔ อย่างคือ จีวร บิณฑบาตร เสนาสนะ และเภสัช)


วิธีแสดงอาบัติ

เมื่อใดที่รู้ว่าต้องอาบัติในข้อใดข้อหนึ่ง ต้องแสดงอาบัติกับพระรูปใดรูปหนึ่งเพื่อเป็นพยาน ดังนี้

(พระที่พรรษาอ่อนกว่า)

สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ ครั้ง)
สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรจามิ (ว่า ๓ ครั้ง)
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย
อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุมหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ

(พระที่พรรษาแก่กว่ารับว่า)

ปัสสะสิ อาวุโส ตา อาปัตติโย

(พระที่พรรษาอ่อนกว่า)

อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ

(พระที่พรรษาแก่กว่ารับว่า)

อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ

(พระที่พรรษาอ่อนกว่า)

สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
นะ ปุเนวัง กะริสสาม
นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ
นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ

(พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)

สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (กล่าว ๓ ครั้ง)
สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (กล่าว ๓ ครั้ง)
อะหัง อาวุโส สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย
อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุยหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ

(พระที่พรรษาอ่อนกว่ารับว่า)

อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโย

(พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)

อามะ อาวุโส ปัสสามิ

(พระที่พรรษาอ่อนกว่ารับว่า)

อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถะ

(พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)

สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
นะ ปุเนวัง กะริสสามิ
นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ
นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ


๏ ขั้นตอนและบทท่องจำก่อนสึก

ไปแสดงตนต่อพระอุปัชฌาย์เพื่อแจ้งความจำนงขอลาสิกขา มีพระสงฆ์นั่งเป็นพยานเข้าประชุมพร้อมกัน ภิกษุเมื่อจะลาสิกขาต้องแสดงอาบัติแล้ว พาดผ้าสังฆาฏิเข้าไปนั่งหันหน้าตรงพระพุทธรูปบนที่บูชา กราบ ๓ ครั้ง ประนมมือ กล่าว นะโม...๓ จบ แล้วกล่าวดังนี้

สิกขัง ปัจจักขามิ คิหีติ มัง ธาเรถะ
(ข้าพเจ้าลาสิกขา ท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์)

สำหรับแบบมหานิกายจะจบเพียงเท่านี้ แต่ในการลาสิกขาบทแบบธรรมยุตจะมีต่อไปอีกคือ

เมื่อกล่าวเสร็จแล้วกราบพระสงฆ์ผู้มาเป็นพยานลง ๓ ครั้ง แล้วเข้าไปเปลี่ยนผ้าขาวแทนผ้าเหลืองโดยใช้สอดเข้าด้านในผ้าเหลือง แล้วห่มผ้าขาว หันหน้าเข้าหาพระสงฆ์ กราบลง ๓ ครั้ง กล่าวว่า เอสาหัง ภันเต สุจิรปรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ อุปาสะกัง มัง สังโฆ ธาเรตุ อัชชตัคเค ปาณุเปตัง สะระณัง คะตัง (ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้วนั้น กับพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป)

เสร็จแล้วพระที่เป็นประธานกล่าวคำให้ศีล ก็ว่าตามท่าน (ตอนนี้ถือว่าเป็นคฤหัสถ์แล้ว) จนท่านสรุปว่า อิมานิ ปัญจะ สิกขาปทานิ นิจจสีลวเสน สาธุกัง รักขิตัพพานิ เราก็รับว่า อาม ภันเต พระท่านก็จะกล่าวต่อว่า สีเลน สุคติ ยันติ...จนจบ เราก็กราบท่านอีก ๓ ครั้ง ถือบาตรน้ำมนต์ออกไปอาบน้ำมนต์ เมื่อพระภิกษุเริ่มหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ท่านก็จะเริ่มสวดชัยมงคลคาถาให้ เสร็จแล้วอุบาสกก็ผลัดผ้าขาวอาบน้ำ แล้วก็นุ่งผ้าเป็นคฤหัสถ์ (ปกติจะเป็นชุดใหม่ทั้งหมด เพราะถือเหมือนว่าเป็นการเริ่มชีวิตใหม่เลยทีเดียว) เสร็จแล้วเข้ามากราบพระสงฆ์อีก ๓ ครั้งเป็นอันเสร็จพิธี

ข้อมูลจาก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7810

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Morning Prayer สวดมนต์ทำวัตรเช้า 1 (Sub. 中文 Eng)

Evening Prayer สวดมนต์ทำวัตรเย็น 1 (Sub. 中文 Eng)