วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552

คุณสมบัติของผู้ที่จะบวชได้

คุณสมบัติของผู้ที่จะบวชได้


ครั้งหนึ่งในชีวิตของลูกผู้ชาย การได้บวชถือเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ ผลบุญจะแผ่ไปถึงบุคคลผู้ใกล้ชิด และลบล้างกรรมชั่วในอดีตได้ ตามแต่กำลังการบำเพ็ญตน หรือหากท่านยินดีที่จะดำรงสถานภาพของสมณเพศไปจนตลอดชีวิต ก็นับว่าเป็นการอุทิศตนช่วยธำรงค์ไว้ซึ่งการสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนา ไปจนตราบชั่วกาลนาน

การคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมจะมาอยู่ในสมณเพศถือว่ามีส่วนสำคัญมาก การหละหลวมในการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะมาบวช ให้คนทั่วไปเขากราบไหว้นับถือ มีส่วนทำให้สถาบันศาสนาสั่นคลอน ดังจะเห็นได้จากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นว่า คนเคยต้องโทษจำคุกในคดีอาญามาบวชเป็นพระ ก็นอกจากจะไม่อยู่ในศีลแล้ว ยังก่อคดีอุกฉกรรจ์อีกจนได้


๏ ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรหรือพระได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

๑. เป็นสุภาพชนที่มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย เช่น ติดสุราหรือยาเสพติดให้โทษเป็นต้น และไม่เป็นคนจรจัด

๒. มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไทยได้

๓. ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ

๔. ไม่เป็นคนล้มละลาย หรือมีหนี้สินผูกพัน

๕. เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้ ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถหรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ

๖. มีสมณบริขารครบถ้วนและถูกต้องตามพระวินัย

๗. เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ด้วยตนเอง และถูกต้องไม่วิบัติ


๏ ต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้จะบวชได้แก่

๑. เป็นคนทำความผิด หลบหนีอาญาแผ่นดิน

๒. เป็นคนหลบหนีราชการ

๓. เป็นคนต้องหาในคดีอาญา

๔. เป็นคนเคยถูกตัดสินจำคุกฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ

๕. เป็นคนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา

๖. เป็นคนมีโรคติดต่ออันน่ารังเกียจ เช่น วัณโรคในระยะอันตราย

๗. เป็นคนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้

สิ่งต่างๆ ข้างต้นจะมีเขียนถามไว้ในใบสมัครขอบวชซึ่งต้องไปเขียนที่วัดนั้นๆ

ข้อมูลจาก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7819

การเตรียมตัวก่อนบวช

การเตรียมตัวก่อนบวช


ผู้จะบวชเรียกว่า อุปสัมปทาเปกข์ หรือ นาค ซึ่งต้องท่องคำบาลีหรือที่เรียกกันว่าขานนาคให้คล่องเพื่อใช้ในพิธี โดยต้องฝึกซ้อมกับพระอาจารย์ให้คล่องก่อนทำพิธีบวชเพื่อจะได้ไม่เคอะเขิน

นอกจากนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องคิด ต้องเตรียมตัว และทำเมื่อคิดจะบวชดังต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะต้องทำทั้งหมดเพราะว่าทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเหมาะสม และกำลังทรัพย์ด้วย ขั้นตอนบางอย่างไม่จำเป็นต้องมีก็ได้

- เครื่องอัฏฐบริขาร
- ของที่ต้องใช้ในการบวช
- คำขอขมาเพื่อลาบวช
- การบวชนาค แห่นาค


๏ เครื่องอัฏฐบริขารและเครื่องใช้อื่นๆ ที่ควรมีหรือจำเป็นต้องใช้ได้แก่

๑. ไตรครอง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑

๒. บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา ถลกบาตร สายโยค ถุง ตะเคียว

๓. มีดโกน พร้อมทั้งหินลับมีดโกน

๔. เข็มเย็บผ้า พร้อมทั้งกล่องเข็มและด้าย

๕. เครื่องกรองน้ำ (ธมกรก)

๖. เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง

๗. จีวร สบง อังสะ ผ้าอาบ ๒ ผืน (อาศัย)

๘. ตาลปัตร ย่าม ผ้าเช็ดหน้า ร่ม รองเท้า

๙. โคมไฟฟ้า หรือตะเกียง ไฟฉาย นาฬิกาปลุก

๑๐. สำรับ ปิ่นโต คาว หวาน จานข้าว ช้อนส้อม ผ้าเช็ดมือ

๑๑. ที่ต้มน้ำ กาต้มน้ำ กาชงน้ำร้อน ถ้วยน้ำร้อน เหยือกน้ำและแก้วน้ำเย็น กระติกน้ำแข็ง กระติกน้ำร้อน

๑๒. กระโถนบ้วน กระโถนถ่าย

๑๓. ขันอาบน้ำ สบู่และกล่องสบู่ แปรงและยาสีฟัน ผ้าขนหนู กระดาษชำระ

๑๔. สันถัต (อาสนะ)

๑๕. หีบไม้หรือกระเป๋าหนังสำหรับเก็บไตรครอง

ข้อที่ ๑-๕ เรียกว่าอัฏฐบริขารซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดเสียมิได้ มีความหมายว่า บริขาร ๘ แบ่งเป็นผ้า ๕ อย่างคือ สบง ๑ ประคตเอว ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ากรองน้ำ ๑ และเหล็ก ๓ อย่างคือ บาตร ๑ มีดโกน ๑ เข็มเย็บผ้า ๑ นอกจากนั้นก็แล้วแต่ความจำเป็นในแต่ละแห่งและกำลังทรัพย์


๏ ของที่ต้องเตรียมใช้ในพิธีคือ

๑. ไตรแบ่ง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑

๒. จีวร สบง อังสะ (อาศัยหรือสำรอง) และผ้าอาบ ๒ ผืน

๓. ย่าม ผ้าเช็ดหน้า นาฬิกา

๔. บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา

๕. รองเท้า ร่ม

๖. ที่นอน เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง (อาจอาศัยของวัดก็ได้)

๗. จานข้าว ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดมือ ปิ่นโต กระโถน

๘. ขันน้ำ สบู่ กล่องสบู่ แปรง ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว

๙. ธูป เทียน ดอกไม้ (ใช้สำหรับบูชาพระรัตนตรัย)

๑๐. ธูป เทียน ดอกไม้ *(อาจใช้แบบเทียนแพรที่มีกรวยดอกไม้ก็ได้ เอาไว้ถวายพระอุปัชฌาย์ผู้ให้บวช)

*อาจจะเตรียมเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรมสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์และพระในพิธีนั้นอีกรูปละหนึ่งชุดก็ได้ ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์และศรัทธา


๏ คำขอขมาบิดา มารดา และญาติผู้ใหญ่เพื่อลาบวช

“กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทล่วงเกินท่านต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ทั้งตั้งใจก็ดี มิได้ตั้งใจก็ดี ขอให้ท่านจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้านับแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนตราบเท่านิพพานเทอญ”


๏ การบวชนาคและแห่นาค

การจัดกระบวนแห่ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ

๑. หัวโต หรือห้วสิงโต (มีหรือไม่ก็ได้)

๒. แตร หรือ เถิดเทิง (มีหรือไม่ก็ได้)

๓. ของถวายพระอุปัชฌาย์ คู่สวด

๔. ไตรครอง ซึ่งมักจะอุ้มโดยมารดาหรือบุพการีของผู้บวช (มีสัปทนกั้น)

๕. ดอกบัว ๓ ดอก ธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม ให้ผู้บวชพนมมือถือไว้ (มีสัปทนกั้น)

๖. บาตร และตาลปัตร จะถือและสะพายโดยบิดาของผู้บวช

๗. ของถวายพระอันดับ

๘. บริขารและเครื่องใช้อย่างอื่นของผู้บวช

เมื่อจัดขบวนเรียบร้อยแล้วก็เคลื่อนขบวนเข้าสู่พระอุโบสถ เวียนขวารอบนอกขันธสีมา จนครบ ๓ รอบ ก่อนจะเข้าโบสถ์ก็ต้องวันทาเสมาหน้าพระอุโบสถเสียก่อนว่า วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจติยัง สัพพะ เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต

เมื่อเสร็จแล้วก็โปรยทานก่อนเข้าสู่พระอุโบสถโดยให้บิดามารดาจูงติดกันไป อาจจะอุ้มข้ามธรณีประตูไปเลยก็ได้ เสร็จแล้วผู้บวชก็ไปกราบพระประธานด้านข้างพระหัตถ์ขวาขององค์พระ รับไตรครองจากมารดาบิดา จากนั้นจึงเริ่มพิธีการบวช

ข้อมูลจาก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7818

พิธีการบวชแบบมหานิกาย (อุกาสะ)

พิธีการบวชแบบมหานิกาย (อุกาสะ)


๏ ขั้นตอนและบทที่ต้องท่องจำ
ใช้ในพิธีบวชแบบมหานิกาย (อุกาสะ)

รับผ้าไตรอุ้มประนมมือแล้วเดินเข้าไปในที่ประชุมสงฆ์ในพิธี (สังฆนิบาต) แล้ววางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นเปล่งวาจาขอบรรพชาว่า

อุกาสะ วันทามิ ภันเต
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง
ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ
อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต

(นั่งคุกเข่าลง แล้วประนมมือว่า)

อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ

(กล่าว ๓ ครั้งว่า)

สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ
อิมัง กาสาวัง คะเหตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต
อะนุกัมปัง อุปาทายะ (เสร็จแล้วพระอุปัชฌาจะมารับผ้าไตร แล้วว่าต่อไป)

(กล่าว ๓ ครั้งว่า)

สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ
เอตัง กาสาวัง ทัตตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต
อะนุกัมปัง อุปาทายะ

พระอุปัชฌาย์ให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน แล้วให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลม (ไปข้างหน้า) และปฏิโลม (ทวนกลับ) ดังนี้

เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม)
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม)

พระอุปัชฌาย์ชักอังสะออกจากไตรมาสวมให้ผู้บวช แล้วสั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วรับเครื่องไทยทานเข้าไปหาพระอาจารย์ ถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง ยืนประนมมือเปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้

อุกาสะ วันทามิ ภันเต
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ

อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา
ติสะระเณนะ สะหะ
สีลานิ เทถะ เม ภันเต

(นั่งคุกเข่าขอสรณะและศีลดังต่อไปนี้)

อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ

(พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการให้ผู้บรรพชาว่าตามดังนี้)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ
ให้รับว่า อามะ ภันเต แล้วท่านจะว่านำสรณคมน์ก็ให้ว่าตามดังนี้

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

พอจบแล้วทางพระอุปัชฌาย์จะบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต ต่อจากนั้นก็สมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการโดยว่าตามท่านไปเรื่อยๆ ดังนี้

ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
อทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
อะพรหมจริยา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
วิกาละโภชนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ

(พระจะกล่าว ๓ ครั้งว่า)

อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ (เสร็จแล้วพึงกราบลง ๑ หน แล้วยืนขึ้นว่าดังนี้)

วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ (คุกเข่าลงกราบ ๓ ครั้ง)

ต่อจากนั้นให้รับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในสังฆสันนิบาต วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องไทยทานถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วยืนขึ้นประนมมือกล่าวดังนี้

อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ
อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา นิสสะยัง เทถะ เม ภันเต

(นั่งคุกเข่า)

อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ

(กล่าว ๓ ครั้งว่า)

อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ

พระอุปัชฌาย์จะกล่าวรับว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปะเทหิ ผู้บวชพึงรับว่า อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ ๓ ครั้งแล้วว่าดังนี้

(กล่าว ๓ ครั้งว่า)

อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร (เสร็จแล้วยืนขึ้นว่าดังนี้)

วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ (คุกเข่าลงกราบ ๓ ครั้ง)

ลำดับต่อไปพระอุปัชฌาย์หรือพระอาจารย์จะเอาบาตรมีสายโยคคล้องตัวผู้ขอบวช แล้วบอกบาตรและจีวร ผู้บวชก็รับเป็นทอดๆ ไปดังนี้

อะยันเต ปัตโต (รับว่า) อามะ ภันเต
อะยัง สังฆาฏิ (รับว่า) อามะ ภันเต
อะยัง อุตตะราสังโค (รับว่า) อามะ ภันเต
อะยัง อันตะระวาสะโก (รับว่า) อามะ ภันเต

จากนั้นพระอาจารย์ท่านจะบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ ผู้บวชก็ถอยออกไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ (ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางเข้าโบสถ์) ต่อจากนี้พระอาจารย์จะสวดถามอันตรายิกธรรม ให้รับ นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และต่อด้วย อามะ ภันเต อีก ๘ ครั้งดังต่อไปนี้

พระจะถามว่า.....................ผู้บวชกล่าวรับว่า

กุฏฐัง.....................................นัตถิ ภันเต
คัณโฑ....................................นัตถิ ภันเต
กิลาโส....................................นัตถิ ภันเต
โสโส......................................นัตถิ ภันเต
อะปะมาโร..............................นัตถิ ภันเต
มะนุสโสสิ๊...............................อามะ ภันเต
ปุริโสสิ๊....................................อามะ ภันเต
ภุชิสโสสิ๊.................................อามะ ภันเต
อะนะโณสิ๊...............................อามะ ภันเต
นะสิ๊ ราชะภะโฏ.......................อามะ ภันเต
อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ..........อามะ ภันเต
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊.............อามะ ภันเต
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง........อามะ ภันเต
กินนาโมสิ................................อะหัง ภันเต...*(ชื่อพระใหม่) นามะ
โก นามะ เต.............................อุปัชฌาโย อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา...*(ชื่อพระอุปัชฌาย์) นามะ

*หมายเหตุ ผู้บวชจะต้องทราบชื่อทางพระที่พระตั้งให้ใหม่ก่อนวันบวชและต้องจำชื่อพระอุปัชฌาย์ให้ได้ด้วย

เสร็จแล้วกลับเข้ามาข้างในที่ประชุมสงฆ์ กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือเปล่งวาจาขออุปสมบทดังนี้

สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ

ต่อมาพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวชก็รับว่า นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และ อามะ ภันเต ๘ ครั้ง บอกชื่อพระใหม่ของตัวเอง และชื่อพระอุปัชฌาย์แบบที่ผ่านมาอย่างละหนึ่งครั้ง เสร็จแล้วก็นั่งฟังพระสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ พอจบแล้วท่านก็จะเอาบาตรออกจากตัว ให้กราบลง ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วก็กล่าวรับว่า อามะ ภันเต เสร็จพิธีก็กราบพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยทานก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ เวลากรวดน้ำก็ให้ตั้งใจรำลึกถึงผู้มีพระคุณอุทิศส่วนกุศลแด่ท่าน ขั้นตอนต่อไปก็นั่งฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี

ข้อมูลจาก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7817

พิธีการบวชแบบธรรมยุต (เอสาหัง)

พิธีการบวชแบบธรรมยุต (เอสาหัง)


๏ ขั้นตอนและบทที่ต้องท่องจำ
ใช้ในพิธีบวชแบบธรรมยุต (เอสาหัง)

รับผ้าไตรอุ้มประนมมือแล้วเดินเข้าไปในที่ประชุมสงฆ์ในพิธี (สังฆนิบาต) แล้ววางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นเปล่งวาจาขอบรรพชาว่า

เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
ละเภยยาหัง ภันเต
ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง
ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง

ทุติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
ละเภยยาหัง ภันเต
ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง
ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง

ตะติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
ละเภยยาหัง ภันเต
ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง
*ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง

อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ

*หมายเหตุ ถ้าบวชเป็นสามเณรให้ละคำว่า ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ออก

พระอุปัชฌาย์รับเอาผ้าไตรจากผู้บวชวางไว้ตรงหน้าตัก ให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน แล้วให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลม (ไปข้างหน้า) และปฏิโลม (ทวนกลับ) ดังนี้

เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม)
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม)

พระอุปัชฌาย์ชักอังสะออกจากไตรมาสวมให้ผู้บวช แล้วสั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วเข้าไปหาพระอาจารย์ รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าเปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้

อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ

(พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการให้ผู้บรรพชาว่าตามดังนี้)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ
ให้รับว่า อามะ ภันเต แล้วท่านจะว่านำสรณคมน์ก็ให้ว่าตามดังนี้

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

พอจบแล้วทางพระอุปัชฌาย์จะบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต ต่อจากนั้นก็สมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการโดยว่าตามท่านไปเรื่อยๆ ดังนี้

ปาณาติปาตา เวรมณี
อทินนาทานา เวรมณี ิ
อะพรหมจริยา เวรมณี
มุสาวาทา เวรมณี
สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี
วิกาละโภชนา เวรมณี
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวรมณี
มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมณี
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี
ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวรมณี

(และกล่าว ๓ ครั้งว่า)

อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ (เสร็จแล้วรับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในที่ประชุมสงฆ์ วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวดังนี้)

อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ (ตรงนี้ว่า ๓ ครั้ง)

พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ ให้รับว่า สาธุ ภันเต ทุกครั้งไป

อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร (กล่าวตรงนี้ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วกราบลง ๓ ครั้ง)

พระอาจาย์จะเอาสายคล้องตัวผู้บวช บอกบาตรและจีวรก็ให้ผู้บวชรับว่า อามะ ภันเต ๔ ครั้งดังนี้

อะยันเต ปัตโต (รับว่า) อามะ ภันเต
อะยัง สังฆาฏิ (รับว่า) อามะ ภันเต
อะยัง อุตตะราสังโค (รับว่า) อามะ ภันเต
อะยัง อันตะระวาสะโก (รับว่า) อามะ ภันเต

จากนั้นพระอาจารย์ท่านจะบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ ผู้บวชก็ถอยออกไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ (ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางเข้าโบสถ์) ต่อจากนี้พระอาจารย์จะสวดถามอันตรายิกธรรม ให้รับ นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และต่อด้วย อามะ ภันเต อีก ๘ ครั้งดังต่อไปนี้

พระจะถามว่า.......................ผู้บวชกล่าวรับว่า

กุฏฐัง.......................................นัตถิ ภันเต
คัณโฑ......................................นัตถิ ภันเต
กิลาโส......................................นัตถิ ภันเต
โสโส........................................นัตถิ ภันเต
อะปะมาโร................................นัตถิ ภันเต
มะนุสโสสิ๊.................................อามะ ภันเต
ปุริโสสิ๊......................................อามะ ภันเต
ภุชิสโสสิ๊...................................อามะ ภันเต
อะนะโณสิ๊.................................อามะ ภันเต
นะสิ๊ ราชะภะโฏ.........................อามะ ภันเต
อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ............อามะ ภันเต
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊...............อามะ ภันเต
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง..........อามะ ภันเต
กินนาโมสิ.................................อะหัง ภันเต...*(ชื่อพระใหม่) นามะ
โก นามะ เต อุปัชฌาโย..............อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา...*(ชื่อพระอุปัชฌาย์) นามะ

*หมายเหตุ ผู้บวชจะต้องทราบชื่อทางพระที่พระตั้งให้ใหม่ก่อนวันบวชและต้องจำชื่อพระอุปัชฌาย์ให้ได้ด้วย

เสร็จแล้วกลับเข้ามาข้างในที่ประชุมสงฆ์ กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือเปล่งวาจาขออุปสมบทดังนี้

สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ

ถ้ากล่าวพร้อมกันให้เปลี่ยนคำว่า ยาจามิ เป็น ยาจามะ และเปลี่ยน มัง เป็น โน

ต่อมาพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวชก็รับว่า นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และ อามะ ภันเต ๘ ครั้ง บอกชื่อพระใหม่ของตัวเอง และชื่อพระอุปัชฌาย์แบบที่ผ่านมาอย่างละหนึ่งครั้ง เสร็จแล้วก็นั่งฟังพระสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ พอจบแล้วท่านก็จะเอาบาตรออกจากตัว ให้กราบลง ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วก็กล่าวรับว่า อามะ ภันเต เสร็จพิธีก็กราบ ๓ ครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยทานก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ เวลากรวดน้ำก็ให้ตั้งใจรำลึกถึงผู้มีพระคุณอุทิศส่วนกุศลแด่ท่าน ขั้นตอนต่อไปก็นั่งฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี

ข้อมูลจาก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7816

บทบัญญัติข้อห้ามและศีลของสมณเพศ

บทบัญญัติข้อห้ามและศีลของสมณเพศ


หน้านี้ว่าด้วยข้อห้ามและศีลที่พระพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้ สำหรับผู้ที่บวชเป็นสามเณรและภิกษุ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องกระทำเมื่ออยู่ในสมเพศ เป็นที่น่าเสียดายว่า ในตำราพิธีการบวชที่มีอยู่หลายเล่มนั้น ทั้งของธรรมยุตและมหานิกาย ได้เว้นไว้โดยมิได้กล่าวถึงศีลสำหรับพระภิกษุทั้งใหม่และเก่า ซึ่งอาจเป็นเพราะว่ามันมากถึง ๒๒๗ ข้อ อันอาจจะเปลืองเนื้อที่กระดาษหรืออย่างไรไม่ทราบได้ ทำให้พระในปัจจุบันนี้อาจจะละเมิดศีลโดยที่มิควรจะเป็น ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ หรืออาจจะลืมไปแล้วเสียด้วยว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นผิดศีลข้อใด

- ห้ามฉันเนื้อ ๑๐ อย่าง
- ศีล ๑๐ ข้อของสามเณร
- ศีล ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ
- ข้อปฏิบัติของภิกษุณี ๘ ประการ (ครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา)
- ข้อห้ามสำหรับการบวชพระในแบบธรรมยุต

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7813
๏ ภิกษุไม่ควรฉันเนื้อ ๑๐ อย่างอันได้แก่

๑. เนื้อมนุษย์
๒. เนื้อช้าง
๓. เนื้อม้า
๔ .เนื้อสุนัข
๕. เนื้องู
๖. เนื้อราชสีห์
๗. เนื้อหมี
๘. เนื้อเสือโคร่ง
๙. เนื้อเสือดาว
๑๐. เนื้อเสือเหลือง


๏ สามเณรต้องถือศีล ๑๐ ข้ออันได้แก่

๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์ทั้งมนุษย์และเดรัจฉาน

๒. เว้นจากการลักทรัพย์

๓. เว้นจากการเสพเมถุน

๔. เว้นจากการพูดเท็จ

๕. เว้นจากการดื่มสุราและเมรัย

๖. เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล (หลังเที่ยงวันไปแล้ว)

๗. เว้นจากการฟ้อนรำขับร้องและการบรรเลง ตลอดถึงการดูการฟังสิ่งเหล่านั้น

๘. เว้นจากการทัดทรงตกแต่งประดับร่างกาย การใช้ดอกไม้ ของหอม เครื่องประเทืองผิวต่างๆ

๙. เว้นจากการนอนที่นอนสูงใหญ่และยัดนุ่นสำลีอันมีลายวิจิตร
(เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่งที่มีเท้าสูงเกินประมาณ)

๑๐. เว้นจากการรับเงินทอง


๏ พระภิกษุต้องถือศีล ๒๒๗ ข้ออันได้แก่

ศีล ๒๒๗ ข้อที่เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุดได้ดังนี้ ได้แก่

- ปาราชิก มี ๔ ข้อ
- สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ
- อนิยต มี ๒ ข้อ (อาบัติที่ไม่แน่ว่าจะปรับข้อไหน)
- นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี ๓๐ ข้อ
(อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ ข้อ)
- ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
- ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่พึงแสดงคืน)

เสขิยะ (ข้อที่ภิกษุพึงศึกษาเรื่องมารยาท) แบ่งเป็น
- สารูป มี ๒๖ ข้อ (ความเหมาะสมในการเป็นสมณะ)
- โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อ (ว่าด้วยการฉันอาหาร)
- ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อ (ว่าด้วยการแสดงธรรม)
- ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ (เบ็ดเตล็ด)
- อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อ (ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์)

รวมทั้งหมดแล้ว ๒๒๗ ข้อ ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิฏษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิดได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว


๐ ปาราชิก มี ๔ ข้อได้แก่

๑. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)

๒. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)

๓. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์

๔. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)


๐ สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ ถือเป็นความผิดหากทำสิ่งใดต่อไปนี้

๑. ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน

๒. เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ

๓. พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี

๔. การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน

๕.ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ

๖. สร้างกุฏิด้วยการขอ

๗. สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่รุกรานคนอื่น

๘. แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล

๙. แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล

๑๐. ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน

๑๑. เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน

๑๒. เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง ๓ ครั้ง

๑๓. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์


๐ อนิยตกัณฑ์ มี ๒ ข้อได้แก่

๑. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว

๒. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียว และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม ๒ ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว


๐ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี ๓๐ ข้อ ถือเป็นความผิดได้แก่

๑. เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒. อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว
๓. เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน
๔. ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า
๕.รับจีวรจากมือของภิกษุณี
๖. ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย
๗. รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
๘. พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม
๙. พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย
๑๐. ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง
๑๑. หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม
๑๒. หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน
๑๓. ใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง
๑๔. หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง ๖ ปี
๑๕. เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย
๑๖. นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
๑๗. ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
๑๘. รับเงินทอง
๑๙. ซื้อขายด้วยเงินทอง
๒๐. ซื้อขายโดยใช้ของแลก
๒๑. เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒๒. ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง
๒๓. เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย) ไว้เกิน ๗ วัน
๒๔. แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด ๑ เดือนก่อนหน้าฝน
๒๕. ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
๒๖. ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
๒๗. กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
๒๘. เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
๒๙. อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน
๓๐. น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน


๐ ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อได้แก่

๑. ห้ามพูดปด
๒. ห้ามด่า
๓. ห้ามพูดส่อเสียด
๔. ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน
๕. ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุ)เกิน ๓ คืน
๖. ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง
๗. ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง
๘. ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช
๙. ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช
๑๐. ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด
๑๑. ห้ามทำลายต้นไม้
๑๒. ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน
๑๓. ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ
๑๔. ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง
๑๕. ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ
๑๖. ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน
๑๗. ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์
๑๘. ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน
๑๙. ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น
๒๐. ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน
๒๑. ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย
๒๒. ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว
๒๓. ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่
๒๔. ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ
๒๕. ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
๒๖. ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
๒๗. ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี
๒๘. ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน
๒๙. ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย
๓๐. ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี
๓๑. ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๓ มื้อ
๓๒. ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม
๓๓. ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น
๓๔. ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร
๓๕. ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว
๓๖. ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด
๓๗. ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล
๓๘. ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน
๓๙. ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง
๔๐. ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน
๔๑. ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่นๆ
๔๒. ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ
๔๓. ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน
๔๔. ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง)
๔๕. ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม
๔๖. ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา
๔๗. ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้
๔๘. ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป
๔๙. ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน
๕๐. ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
๕๑. ห้ามดื่มสุราเมรัย
๕๒. ห้ามจี้ภิกษุ
๕๓. ห้ามว่ายน้ำเล่น
๕๔. ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย
๕๕. ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว
๕๖. ห้ามติดไฟเพื่อผิง
๕๗. ห้ามอาบน้ำบ่อยๆ เว้นแต่มีเหตุ
๕๘. ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม
๕๙. วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน
๖๐. ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
๖๑. ห้ามฆ่าสัตว์
๖๒. ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์
๖๓. ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์ (คดีความ-ข้อโต้เถียง) ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
๖๔. ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น
๖๕. ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐ ปี
๖๖. ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน
๖๗. ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน
๖๘. ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน ๓ ครั้ง)
๖๙. ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๐. ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๑. ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
๗๒. ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท
๗๓. ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์
๗๔. ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
๗๕. ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
๗๖. ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
๗๗. ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
๗๘. ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
๗๙. ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน
๘๐. ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ
๘๑. ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง
๘๒. ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
๘๓. ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา
๘๔. ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่
๘๕. เมื่อจะเข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องบอกลาภิกษุก่อน
๘๖. ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์
๘๗. ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ
๘๘. ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น
๘๙. ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ
๙๐. ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ
๙๑. ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ
๙๒. ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ


๐ ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อได้แก่

๑. ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน
๒. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
๓. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์)
๔. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า


เสขิยะ
๐ สารูป มี ๒๖ ข้อได้แก่

๑. นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)
๒. ห่มให้เป็นนปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)
๓. ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน
๔. ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน
๕. สำรวมด้วยดีไปในบ้าน
๖. สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน
๗. มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)
๘. มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน
๙. ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน
๑๐. ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน
๑๑. ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน
๑๒. ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน
๑๓. ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน
๑๔. ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
๑๕. ไม่โคลงกายไปในบ้าน
๑๖. ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
๑๗. ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
๑๘. ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
๑๙. ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
๒๐. ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
๒๑. ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
๒๒. ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
๒๓. ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
๒๔. ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
๒๕. ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
๒๖. ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน


เสขิยะ
๐ โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อคือหลักในการฉันอาหารได้แก่

๑. รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ
๒. ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร
๓. รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)
๔. รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร
๕. ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ
๖. ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร
๗. ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง)
๘. ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป
๙. ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป
๑๐. ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก
๑๑. ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้
๑๒. ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ
๑๓. ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป
๑๔. ทำคำข้าวให้กลมกล่อม
๑๕. ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง
๑๖. ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
๑๗. ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
๑๘. ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
๑๙. ไม่ฉันกัดคำข้าว
๒๐. ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
๒๑. ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
๒๒. ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
๒๓. ไม่ฉันแลบลิ้น
๒๔. ไม่ฉันดังจับๆ
๒๕. ไม่ฉันดังซูดๆ
๒๖. ไม่ฉันเลียมือ
๒๗. ไม่ฉันเลียบาตร
๒๘. ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
๒๙. ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
๓๐. ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน


เสขิยะ
๐ ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อคือ

๑. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ
๒. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ
๓. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ
๔. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ
๕. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้)
๖. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า
๗. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน
๘. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน
๙. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
๑๐. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
๑๑. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
๑๒. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
๑๓. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
๑๔. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
๑๕. ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
๑๖. ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง


เสขิยะ
๐ ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ

๑. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ

๒. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)

๓. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ


เสขิยะ
๐ อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อได้แก่

๑. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)

๒. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
๓. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า

๔. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย

๕. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ

๖. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด

๗. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป


๏ ข้อปฏิบัติของภิกษุณี ๘ ประการ (ครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา)

ครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา คือ เงื่อนไขอย่างเข้มงวด ๘ ประการ ที่ภิกษุณีจะต้องปฏิบัติตลอดชีวิตอันได้แก่

๑. ต้องเคารพภิกษุแม้จะอ่อนพรรษากว่า

๒. ต้องไม่จำพรรษาในวัดที่ไม่มีภิกษุ

๓. ต้องทำอุโบสถและรับโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน

๔. เมื่อออกพรรษาต้องปวารณาตนต่อภิกษุและภิกษุณีอื่นให้ตักเตือนตน

๕. เมื่อต้องอาบัติหนัก ต้องรับมานัต (รับโทษ) จากสงฆ์สองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายภิกษุและภิกษุณี ๑๕ วัน

๖. ต้องบวชจากสงฆ์ทั้งสองฝ่าย หลังจากเป็น *สิกขามานา เต็มแล้วสองปี

๗. จะด่าว่าค่อนแคะภิกษุไม่ได้

๘. ห้ามสอนภิกษุเด็ดขาด

*สิกขามานา แปลว่า ผู้ศึกษา สตรีที่จะบวชเป็นภิกษุณีต้องเป็นนางสิกขามานา ก่อน ๒ ปี


๏ ข้อห้ามสำหรับการบวชพระในแบบธรรมยุต

ห้ามจับปัจจัยที่เป็นเงินเด็ดขาด

ข้อมูลจาก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7813

บทกิจวัตร แสดงอาบัติ ลาสิกขา

บทกิจวัตร แสดงอาบัติ ลาสิกขา


๏ บทกิจวัตรเมื่อเป็นพระ

๑. ลงอุโบสถ (ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น)

๒. บิณฑบาตรเลี้ยงชีพ

๓. สวดมนต์ไหว้พระ

๔. กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์

๕. รักษาผ้าครอง

๖. อยู่ปริวาสกรรม

๗. โกนผม ปลงหนวด ตัดเล็บ

๘. ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์

๙. เทศนาบัติ

๑๐. พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ เป็นต้น

(ให้รู้จักข่มใจ เว้นแต่ความจำเป็น ๔ อย่างคือ จีวร บิณฑบาตร เสนาสนะ และเภสัช)


วิธีแสดงอาบัติ

เมื่อใดที่รู้ว่าต้องอาบัติในข้อใดข้อหนึ่ง ต้องแสดงอาบัติกับพระรูปใดรูปหนึ่งเพื่อเป็นพยาน ดังนี้

(พระที่พรรษาอ่อนกว่า)

สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ ครั้ง)
สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรจามิ (ว่า ๓ ครั้ง)
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย
อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุมหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ

(พระที่พรรษาแก่กว่ารับว่า)

ปัสสะสิ อาวุโส ตา อาปัตติโย

(พระที่พรรษาอ่อนกว่า)

อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ

(พระที่พรรษาแก่กว่ารับว่า)

อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ

(พระที่พรรษาอ่อนกว่า)

สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
นะ ปุเนวัง กะริสสาม
นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ
นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ

(พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)

สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (กล่าว ๓ ครั้ง)
สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (กล่าว ๓ ครั้ง)
อะหัง อาวุโส สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย
อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุยหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ

(พระที่พรรษาอ่อนกว่ารับว่า)

อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโย

(พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)

อามะ อาวุโส ปัสสามิ

(พระที่พรรษาอ่อนกว่ารับว่า)

อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถะ

(พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)

สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
นะ ปุเนวัง กะริสสามิ
นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ
นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ


๏ ขั้นตอนและบทท่องจำก่อนสึก

ไปแสดงตนต่อพระอุปัชฌาย์เพื่อแจ้งความจำนงขอลาสิกขา มีพระสงฆ์นั่งเป็นพยานเข้าประชุมพร้อมกัน ภิกษุเมื่อจะลาสิกขาต้องแสดงอาบัติแล้ว พาดผ้าสังฆาฏิเข้าไปนั่งหันหน้าตรงพระพุทธรูปบนที่บูชา กราบ ๓ ครั้ง ประนมมือ กล่าว นะโม...๓ จบ แล้วกล่าวดังนี้

สิกขัง ปัจจักขามิ คิหีติ มัง ธาเรถะ
(ข้าพเจ้าลาสิกขา ท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์)

สำหรับแบบมหานิกายจะจบเพียงเท่านี้ แต่ในการลาสิกขาบทแบบธรรมยุตจะมีต่อไปอีกคือ

เมื่อกล่าวเสร็จแล้วกราบพระสงฆ์ผู้มาเป็นพยานลง ๓ ครั้ง แล้วเข้าไปเปลี่ยนผ้าขาวแทนผ้าเหลืองโดยใช้สอดเข้าด้านในผ้าเหลือง แล้วห่มผ้าขาว หันหน้าเข้าหาพระสงฆ์ กราบลง ๓ ครั้ง กล่าวว่า เอสาหัง ภันเต สุจิรปรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ อุปาสะกัง มัง สังโฆ ธาเรตุ อัชชตัคเค ปาณุเปตัง สะระณัง คะตัง (ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้วนั้น กับพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป)

เสร็จแล้วพระที่เป็นประธานกล่าวคำให้ศีล ก็ว่าตามท่าน (ตอนนี้ถือว่าเป็นคฤหัสถ์แล้ว) จนท่านสรุปว่า อิมานิ ปัญจะ สิกขาปทานิ นิจจสีลวเสน สาธุกัง รักขิตัพพานิ เราก็รับว่า อาม ภันเต พระท่านก็จะกล่าวต่อว่า สีเลน สุคติ ยันติ...จนจบ เราก็กราบท่านอีก ๓ ครั้ง ถือบาตรน้ำมนต์ออกไปอาบน้ำมนต์ เมื่อพระภิกษุเริ่มหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ท่านก็จะเริ่มสวดชัยมงคลคาถาให้ เสร็จแล้วอุบาสกก็ผลัดผ้าขาวอาบน้ำ แล้วก็นุ่งผ้าเป็นคฤหัสถ์ (ปกติจะเป็นชุดใหม่ทั้งหมด เพราะถือเหมือนว่าเป็นการเริ่มชีวิตใหม่เลยทีเดียว) เสร็จแล้วเข้ามากราบพระสงฆ์อีก ๓ ครั้งเป็นอันเสร็จพิธี

ข้อมูลจาก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7810

บรรพชาอุปสมบท

บรรพชา (อ่านว่า บันพะชา, บับพะชา) แปลว่า การงดเว้นจากความชั่ว หมายถึงการบวชเป็นนักบวช เดิมคำว่า "บรรพชา" ใช้หมายถึงการบวชเป็นนักบวชทั่วไป เช่น เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา สาวกบรรพชา และเรียกนักบวชเช่นนั้นว่า บรรพชิต แต่ในสมัยปัจจุบัน คำนี้ใช้เรียกเฉพาะการบวชเป็นสามเณรเท่านั้น ส่วนการบวชภิกษุเรียกว่าอุปสมบท

ความจริงการบวชเป็นภิกษุนั้นจะต้องผ่านขั้นตอนการเป็นสามเณรก่อน แล้วจึง "อุปสมบท" ดังนั้นจึงนิยมเรียกรวมกันไปว่า "บรรพชาอุปสมบท"

อุปสมบท (อ่านว่า อุปะ-, อุบปะ-) แปลว่า การเข้าถึง คือการบวช เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา ปัจจุบันใช้หมายถึงการบวชเป็นภิกษุและภิกษุณี เรียกเต็มว่า อุปสมบทกรรม ซึ่งหมายถึงการบวชเป็นสามเณร

อุปสมบทเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง เป็นพิธีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นศาสนทายาทในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงวางหลักเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติไว้รัดกุมและละเอียดมาก ทั้งนี้เพื่อให้ได้ศาสนทายาทที่ดีไว้สืบสานพระพุทธศาสนา

Morning Prayer สวดมนต์ทำวัตรเช้า 1 (Sub. 中文 Eng)

Evening Prayer สวดมนต์ทำวัตรเย็น 1 (Sub. 中文 Eng)